คุณภาพอากาศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งโรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยมลพิษต้องพึงระวัง เพื่อมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนข้างเคียงและไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมของโลก เพราะฉะนั้น โรงงานต่าง ๆ จึงต้องมีการตรวจวัดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเป็นประจำตามที่กฎหมายกำหนด ในบทความนี้ เรามีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าดังกล่าวมาฝากกันว่า หากตรวจเจอค่าเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเป็นอันตรายและเกินมาตรฐาน
ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของก๊าซและสสารต่าง ๆ ที่คุณควรรู้
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราได้แบ่งสารมลพิษออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นก๊าซที่ส่งผลต่อมลพิษในอากาศ ได้แก่
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงไม่ควรมีความเข้มข้นเกิน 30 ppm.
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงไม่ควรมีความเข้มข้นเกิน 0.17 ppm.
- ก๊าซโอโซน (O3) ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงไม่ควรมีความเข้มข้นเกิน 0.10 ppm.
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงไม่ควรมีความเข้มข้นเกิน 0.3 ppm.
- ตะกั่ว (Pb) ค่าเฉลี่ย 1 เดือนไม่ควรมีความเข้มข้นเกิน 1.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
และนอกจากก๊าซแล้ว ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศยังวัดกันที่ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศด้วย แบ่งเป็นกลุ่มตามขนาดได้ ดังนี้
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน ใน 24 ชั่วโมงไม่ควรเกิน 0.33 มก./ลบ.ม.
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ใน 24 ชั่วโมงไม่ควรเกิน 0.12 มก./ลบ.ม.
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ใน 24 ชั่วโมงไม่ควรเกิน 0.05 มก./ลบ.ม.
ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องควบคุมค่ามาตรฐานเหล่านี้ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เพื่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยสามารถใช้บริการตรวจวัดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศได้กับบริษัทที่มีบริการโดยตรง เพื่อความมั่นใจในความถูกต้อง ถูกหลักวิชาการ และผ่านการประเมินโดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานโดยทีมงานมืออาชีพอย่างแท้จริง